หน้าเว็บ

วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ประเทศมาเลเซีย

ประเทศมาเลเซีย

ชื่อประเทศ - มาเลเซีย
ที่ตั้ง ตั้งอยู่ในเขตเส้นศูนย์สูตร ประกอบด้วยดินแดนสองส่วน คือ มาเลเซียตะวันตก ตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายู ประกอบด้วย11รัฐ คือ ปะหัง สลังงอร์ เนกรีเซมบิลัน มะละกา ยะโฮร์ เประ กลันตัน ตรังกานู ปีนัง เกดะห์ และปะลิส มาเลเซียตะวันออก ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว (กาลิมันตัน) ประกอบด้วย 2 รัฐ คือ ซาบาห์ และซาราวัก นอกจากนี้ยังมีเขตการปกครองภายใต้สหพันธรัฐ อีก 3เขต คือ
กรุงกัวลาลัมเปอร์ (เมืองหลวง) เมืองปุตราจายา (เมืองราชการ) และเกาะลาบวน
พื้นที่ - 128,430 ตารางไมล์ (329,758 ตารางกิโลเมตร)
เมืองหลวง - กรุงกัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur)
เมืองราชการ เมืองปุตราจายา (Putrajaya)
ภูมิอากาศ - ร้อนชื้น อุณหภูมิเฉลี่ย 28 องศาเซลเซียส
ประชากร 26.24 ล้านคน (ปี 2549)
ภาษา มาเลย์ (Bahasa Malaysia เป็นภาษาราชการ) อังกฤษ จีน ทมิฬ 
ศาสนา อิสลาม (ศาสนาประจำชาติ ร้อยละ 60.4) พุทธ (ร้อยละ 19.2) คริสต์ (ร้อยละ 11.6)
 ฮินดู (ร้อยละ 6.3) อื่น ๆ (ร้อยละ 2.5)
หน่วยเงินตรา ริงกิตมาเลเซีย (ประมาณ 3.20 ริงกิต /ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 10.42 บาท/ริงกิต) 
ระบอบการเมือง ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา (Parliamentary Democracy)

ระบบการปกครอง 
(1) สหพันธรัฐ โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดี (Yang-diPertuan Agong) เป็นประมุข ซึ่งมาจากการเลือกตั้งจากเจ้าผู้ปกครองรัฐแห่ง (ยะโฮร์ ตรังกานู ปะหัง สลังงอร์ เกดะห์ กลันตัน เนกรีเซมบิลัน เประ และปะลิส) และผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันขึ้นดำรงตำแหน่ง วาระละ 5 ปี 
(2) นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาลสหพันธรัฐ และมุขมนตรีแห่งรัฐ (Menteri Besar ในกรณีที่
มีเจ้าผู้ปกครองรัฐ หรือ
Chief Minister ในกรณีที่ไม่มีเจ้าผู้ปกครองรัฐ) เป็นหัวหน้ารัฐบาลแห่งรัฐ
ประมุขสมเด็จพระราชาธิบดี Al-Wathiqu Billah Tuanku Mizan Zainal Abidin ibni Al-Marhum Sultan Mahmud Al-Muktafi Billah Shah จากรัฐตรังกานู ทรงเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 13 ของมาเลเซีย
(ตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคม 2549)

อาชีพและสินค้าส่งออก

อาชีพและสินค้าส่งออก

               อาชีพหลักของคนมาเลเซีย ส่วนใหญ่มีอาชีพ ทำสวน ทำไร่ ทำประมง ล่าสตว์ ชาว Melanau ซึ่งเป็นชาวพื้นเมืองซาราวัคดั้งเดิมทำประมงเป็นอาชีพหลัก แนวชายฝั่งที่ร่ำรวยไปด้วยน้ำมันของซาราวัคมีบทบาทสำคัญในระบบเศรษฐกิจของรัฐและเศรษฐกิจของซาราวัคเอง   ส่วนใหญ่ก็มาจาก ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG)ซึ่งก๊าซธรรมชาติส่วนใหญ่ถูกส่งออกไปที่ญี่ปุ่นรายได้ส่วนอื่นมาจากพริกไทยขาวและดำ อันขึ้นชื่อของซาราวัค ยาง สาคู เนื้อมะพร้าวแห้ง รังนก และไม้แปรรูป โดยประมาณแล้วมาเลเซียปลูกพริกไทยได้ 27,550 ชอร์ตันต่อปี ซึ่งเก้าสิบเปอร์เซ็นต์มาจากซาราวัค
เกษตรกรรม ผลิตยางพาราที่สำคัญของโลก และข้าวเจ้า ปลูกมากบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำทั้ง 2 ด้าน    
การทำเหมืองแร่ แร่ที่สำคัญ ได้แก่ แร่ดีบุก ส่งออกเป็นอันดับหนึ่งของโลก แร่เหล็ก น้ำมัน และแก๊สธรรมชาติ
การทำป่าไม้ ส่วนใหญ่เป็นไม้เนื้อแข็ง ส่งไม้ออกเป็นอันดับ 2 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซีย
อุตสาหกรรม ได้ชื่อว่าเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ของเอเชีย ( NICs) ประเทศมาเลเซียอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ อาทิ มีการสำรองน้ำมันดิบ 3.8 ล้านบาเรล และก๊าซธรรมชาติ 87 ล้านลูกบาศก์ฟุต ทั้งยังเป็นผู้ผลิตก๊าซอันดับ 3 ของโลกที่มีกำลังผลิต 24 ล้านตันต่อปี และยังคงมีทรัพยากรอื่นๆ อีกมากมาย เช่น ดีบุก ป่าไม้ ปาล์มน้ำมัน และโกโก้ นอกจากนี้ มาเลเซียยังใส่ใจในสิ่งแวดล้อมด้วยการคุ้มครองป่าไม้อีกด้วย

เพลงชาติมาเลเซีย

เพลงชาติมาเลเซีย



เพลงชาติมาเลเซีย ภาษามลายู อักษรยาวี
نڬاراكو

تانه تومڤهڽ دارهكو
رعيت هيدوڤ
برساتو دان ماجو



رحمة بهاڬيا
توهن كورنياكن
راج كيت
سلامت برتختا



رحمة بهاڬيا
توهن كورنياكن
راج كيت
سلامت برتختا



เพลงชาติมาเลเซีย ภาษามลายู อักษรโรมัน
Negaraku,
Tanah tumpahnya darahku,
Rakyat hidup,
Bersatu dan maju,


Rahmat bahagia,
Tuhan kurniakan,
Raja kita,
Selamat bertakhta.



Rahmat bahagia,
Tuhan kurniakan,
Raja kita,
Selamat bertakhta.



เพลงชาติมาเลเซีย ภาษาไทย

แผ่นดินของข้า
คือผืนดินถิ่นเกิด

ผองประชาพำนัก
ด้วยรักสามัคคี ก้าวหน้า



จงประสพสุขล้วน
ขอพระเจ้าทรงอำนวยพร
ขอองค์ราชา
ทรงปกครองแผ่นดินโดยธรรม



จงประสพสุขล้วน
ขอพระเจ้าทรงอำนวยพร
ขอองค์ราชา
ทรงปกครองแผ่นดินโดยธรรม 

ลักษณะภูมิประเทศ

ลักษณะภูมิประเทศ
                มาเลเซียตะวันตก  ตั้งอยู่บนแหลมมลายู ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นป่าไม้ ภูเขา และหนองบึง ประมาณร้อยละ ๗๐ ของพื้นที่
                บริเวณชายฝั่งตะวันตก ที่ติดกับมหาสมุทรอินเดีย และช่องแคบมะละกา เป็นพื้นที่ราบลุ่ม ชายฝั่งเต็มไปด้วยหนองบึง และป่าไม้โกงกาง ผิวดินเป็นดินเหนียว และโคลนตม คงมีเหลือพื้นที่ราบซึ่งเป็นดินทรายบางบริเวณ พื้นดินตอนในห่างจากบริเวณที่ราบชายฝั่งสองด้าน ค่อย ๆ เปลี่ยนระดับเป็นที่ราบสูง บริเวณเชิงเขา พื้นดินส่วนใหญ่เป็นดินแดง และดินปนทราย ดินเหนียวและดินลูกรัง
                มาเลเซียตะวันออก  ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียวตอนเหนือ ลักษณะภูมิประเทศแบ่งออกได้เป็นสามส่วนคือ
                ที่ราบชายฝั่ง และริมทะเลมีหนองบึง และป่าโกงกาง ที่เชิงเขา และทิวเขาสูงมีความสูงชัน มีเหวลึกปกคลุมด้วยป่าทึบยากแก่การสัญจร มียอดเขาสูงสุดอยู่ทางภาคเหนือ มีลักษณะผิวดินแตกต่างกันออกไป บริเวณพื้นที่รอบชายฝั่งส่วนใหญ่เป็นประเภทดินเหนียว และดินโคลนตม ซึ่งมีน้ำหล่อเลี้ยงอยู่ตลอดเวลา ในบริเวณบางแห่งมีกรวดทรายปะปนอยู่เป็นจำนวนมาก
                เทือกเขา  เทือกเขาสำคัญของมาเลเซียประกอบด้วยเทือกเขาบินดัง เทือกเขาโกฮิมหรือเทือกเขากลาง เทือกเขาตรังกานู ในแหลมมลายู และเทือกเขากินาบาลู ในเกาะบอร์เนียว ซึ่งมียอดเขาโกตาคินาบาลูเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในมาเลเซีย
                แหล่งน้ำ  ในแหลมมลายูมีแม่น้ำสายสำคัญได้แก่ แม่น้ำคาดาห์ แม่น้ำซุนดา แม่น้ำเกรียน แม่น้ำเปรัค แม่น้ำปาหัง แม่น้ำกลันตัน แม่น้ำมุดา แม่น้ำเบอร์นัม แม่น้ำสลังงอร์และแม่น้ำกลัง
            ในเกาะบอร์เนียวมีแม่น้ำสายสำคัญได้แก่ แม่น้ำรายัง มีความยาวประมาณ ๕๖๐ กิโลเมตร  แม่น้ำมาลุย ยาวประมาณ ๔๐๐ กิโลเมตร นอกจากนี้ยังมีแม่น้ำกินาบาดางัน
               ชายฝั่งทะเล ในแหลมมลายูฝั่งทะเลด้านตะวันออกติดต่อกับทะเลจีนใต้ ลักษณะท้องทะเลในบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ลาดชัน พื้นที่ส่วนใหญ่เต็มไปด้วยปะการัง และหินใต้ทะเลน้อยใหญ่เป็นจำนวนมาก เหมาะแก่การเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำต่าง ๆ ฝั่งทะเลมีความยาวประมาณ ๑,๙๐๐ กิโลเมตร  บริเวณชายฝั่งมีความลึกตั้งแต่ ๑๒๐ - ๓๐๐ ฟุต เป็นหาดทรายยาวเหยียดติดต่อกัน มีที่ราบลุ่มอยู่เป็นบางตอน ฝั่งทะเลด้านตะวันตกเป็นหาดเลน พื้นที่ลึกเข้าไปในบริเวณชายฝั่งเป็นที่ลุ่ม และหนองบึง และป่าไม้โกงกาง คงมีเฉพาะบางแห่งเท่านั้นที่มีหาดทราย
               ในเกาะบอร์เนียว ฝั่งทะเลบริเวณใต้สุดของทะเลจีนใต้ ท้องทะเลในบริเวณดังกล่าวมีความลึกพอสมควร มีกลุ่มหินปะการังอยู่เป็นหย่อม ๆ ในระยะลึก นอกจากนั้นยังมีหินใต้น้ำอยู่เป็นบางตอนในบริเวณใกล้ชายฝั่ง เป็นอุปสรรคในการเดินเรือใกล้ฝั่ง บริเวณฝั่งทะเลรัฐซาราวัคมีความลึกใกล้ฝั่งประมาณ ๒๐ - ๓๐ ฟุต  ห่างออกไปจากฝั่ง บางพื้นที่ลึกมาก บางแห่งลึกประมาณ ๒๐๐ - ๓๐๐ ฟุต
               บริเวณชายฝั่งของรัฐซาบาห์ ทิศเหนือติดต่อกับทะเลจีนใต้ ความลึกของทะเลมีมากกว่า
รัฐซาราวัค

               ลักษณะภูมิอากาศ คือ ประเทศมาเลเซียมีลักษณะภูมิอากาศคล้ายคลึงกับภาคใต้ของประเทศไทย แต่ เนื่องจากทำเลที่ตั้งอยู่ใกล้เส้นสูตรและได้รับอิทริผลจากลมมรสุมจากมหวสมุทรอินเดียและ ทะเลจีนใต้จึงมีผลทำให้อุณภูมิไม่สูงนัก มีฝนตกเกือบตลอดปี และมีปริมาณน้ำฝนมากกว่าประเทศไทย ไม่มีฤดูแล้งชัดเจน ทำให้ประเทศมาเลเซียมีปาไม้ อุดมสมบูรณ์

อาหารประจำชาติ

อาหารประจำชาติ



  นาซิ เลอมัก 

          นาซิ เลอมัก (Nasi Lemak) อาหารยอดนิยมของประเทศมาเลเซีย โดยนาซิ เลอมัก จะเป็นข้าวหุงกับกะทิ และใบเตย ทานพร้อมเครื่องเคียง 4 อย่าง ได้แก่ ปลากะตักทอดกรอบ แตงกวาหั่น  ไข่ต้มสุก และถั่วอบ ซึ่งนาซิ เลอมักแบบดั้งเดิมจะห่อด้วยใบตอง และมักทานเป็นอาหารเช้า แต่ในปัจจุบัน กลายเป็นอาหารยอดนิยมที่ทานได้ทุกมื้อ และแพร่หลายในประเทศเพื่อนบ้านอีกหลายแห่ง เช่น สิงคโปร์ และภาคใต้ของไทยด้วย

วัฒนธรรม และประเพณีต่างๆของมาเลเซีย

วัฒนธรรม และประเพณีต่างๆของมาเลเซีย
                 หลายคนคงรู้จักการละหมาด ซึ่งประเทศมาเลเซียนั้นมีผู้นับถือศาสนาอิสลามมากที่สุดในประเทศ โดยมีมากถึง 55%  การละหมาด เป็นการปฏิบัติศาสนกิจอย่างหนึ่งในศาสนาอิสลาม เพื่อเป็นการภักดีต่ออัลลอฮฺ มุสลิมทุกคนจะต้องละหมาด วันละ 5 เวลา เรียกว่า ละหมาดฟัรฎู   ละหมาด หมายถึง การขอพร ความหมายทางศาสนาหมายถึง การกล่าวและการกระทำ ซึ่งเริ่มต้นด้วยตักบีร และ จบลงด้วยสะลาม การละหมาดเป็นการสร้างเอกภาพอย่างหนึ่งของมุสลิม เมื่อละหมาดมุสลิมทั่วโลก หันหน้าไปทางกิบละฮฺ เพื่อเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ การละหมาด ฝึกฝนให้เป็นคนตรงต่อเวลา มีความอดทน และขัดเกลาจิตใจ ให้บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่ประพฤติสิ่งหนึ่งสิ่งใดในทางชั่วร้าย


การละหมาดของชาวมาเลเซีย

               มีสภาพคล้ายคลึงกับประเทศอินโดนีเซีย ชึ่งเป็นหมู่เกาะอิทธิพลของศาสนาอิสลามได้แพร่เข้ามาในแหลมมลายู ประชากรนับถือศาสนาอิสลาม 55% นับถือศาสนาพุทธ 25% นับถือศาสนาคริสต์ 13% นับถือศาสนาฮินดู 7% และลัทธิศาสนาพื้นเมือง 4% แต่การหันไปนับถือศาสนาอื่นที่ไม่ใช่อิสลามเป็นปัญหาอย่างมากเนื่องจากทางภาครัฐจะไม่เปลี่ยนข้อมูลทางราชการให้ มาเลเซียบัญญัติในรัฐธรรมนูญให้ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ และผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามจะมีสิทธิพิเศษ คือ ได้รับเงินอุดหนุนทางด้านการศึกษา สาธารณะสุข การคลอดบุตร งานแต่งงานและงานศพตามนโยบาย "ภูมิบุตร"

ขนบธรรมเนียมประเพณีชาวมลายู
               ประเทศมาเลเซียเป็นหนึ่งในบรรดาประเทศที่ประกอบขึ้นด้วยหลากหลายชาติพันธุ์ ประเทศมาเลเซียมีดินแดนแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นรัฐต่างๆจำนวน 11 รัฐตั้งอยู่บนแหลมมลายู อีกส่วนหนึ่งมี 2 รัฐตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว ทั้งสองส่วนนี้มีความแตกต่างทางชาติพันธุ์ รัฐที่ตั้งอยู่บนแหลมมลายูประกอบด้วยชาติพันธุ์ใหญ่ๆจำนวน 3 ชาติพันธุ์ คือ มลายู จีน และอินเดีย ส่วนรัฐที่ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว มีจำนวนชาติพันธุ์หลายสิบชนเผ่า
               ในที่นี้ขอกล่าวถึงชาวมลายูในประเทศมาเลเซีย ชาวมลายูในประเทศมาเลเซีย มีขนบธรรมเนียมประเพณีอยู่ 2 แบบ คือ
               1. ชาวมลายูที่ยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณีแบบ Adat Temenggong
เป็นขนบธรรมเนียมที่ยึดถือในรัฐส่วนใหญ่ของแหลมมลายู ยกเว้นรัฐนัครีซัมบีลัน ว่ากันว่าเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีที่ยึดถือมาตั้งแต่ยุคแรกรัฐมะละกาจนขยายไปยังรัฐต่างๆในแหลมมลายู ขนบธรรมเนียมนี้จัดตั้งขึ้นโดย Datuk Ketemenggungan จากเกาะสุมาตรา จากการที่ขนบธรรมเนียมประเพณี Adat Temenggong มีการผสมผสานกับขนบธรรมเนียมเดิมที่มีอยู่แล้ว จึงได้เกิดเป็นกฎหมายมีชขื่อแตกต่างกัน เช่น กฎหมายมะละกา (Undang-Undang Melaka) กฎหมายโยโฮร์(Undang-Undang Johor) และกฎหมายเคดะห์ (Undang-Undang Kedah)

หลักการของขนบธรรมเนียมประเพณี Adat Temenggong
การลงโทษถือเป็นสิ่งที่ได้รับการตอบแทน
การปกครองต้องใช้อำนาจเด็ดขาด
การสืบมรดกถือหลักการตามบิดา (Patriline)
การแต่งงานนั้นจะแต่งงานกับผู้ใดก็ได้ ถ้าไม่ผิดตามหลักการศาสนาอิสลาม (hukum syarak)

               2. ชาวมลายูที่ยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณีแบบ Adat Minangkabau หรือ Adat Perpatih เป็นขนบธรรมเนียมที่ยึดถือในรัฐนัครีซัมบีลัน และบางส่วนของรัฐมัละกา ผู้สร้างขนบธรรมเนียมประเพณีนี้คือ Datuk Nan Sebatang ซึ่งเป็นพี่น้องของ Datuk Ketumanggungan ผู้สร้างขนบธรรมเนียมประเพณี Adat Temenggong

สกุลเงินของประเทศมาเลเซีย

Malaysian Ringgit

            ริงกิต (Ringgit) เป็นสกุลเงินของประเทศมาเลเซีย
            1  ริงกิตมาเลเซียเท่ากับประมาณ 10 บาท
The Malaysian Ringgit (MYR) is the official currency of Malaysia.  
*1 Malaysian Ringgit approximately equals 10 Thai Baht
            ธนบัตรที่พิมพ์ออกใช้ในปัจจุบันนี้มีฉบับละ 1 ริงกิต, 5 ริงกิต , 10 ริงกิต, 20  ริงกิต,
50 ริงกิต และ 100 ริงกิต



การแต่งกายและชุดแต่งกายประจำชาติ

การแต่งกายและชุดแต่งกายประจำชาติ
                  ผ้าซิ่น หรือ ซิ่น เป็นผ้านุ่งของผู้หญิง มีลักษณะที่แตกต่างกันไปตามท้องถิ่น ทั้งขนาด การนุ่ง และลวดลายบนผืนผ้า
                  ผ้าซิ่นนับเป็นความภาคภูมิใจอย่างหนึ่งของหญิงไทย ในสมัยโบราณ การทอผ้าเป็นงานในบ้าน ลูกผู้หญิงมีหน้าที่ทอผ้า แม่จะสั่งสอนให้ลูกสาวฝึกทอผ้าจนชำนาญ แล้วทอผ้าผืนงามสำหรับใช้ในโอกาสพิเศษ เช่น งานแต่งงาน งานบวช หรืองานบุญประเพณีต่างๆ การนุ่งผ้าซิ่นของผู้หญิงจึงเป็นเหมือนการแสดงฝีมือของตนให้ปรากฏ ผ้าซิ่นที่ทอได้สวยงาม มีฝีมือดี จะเป็นที่กล่าวขวัญและชื่นชมอย่างกว้างขวาง
                  ผ้าซิ่นของไทยมักจะแบ่งได้เป็นสองลักษณะ อย่างแรกคือ ผ้าซิ่นสำหรับใช้ทั่วไป มักจะไม่มีลวดลาย ทอด้วยผ้าฝ้าย หรือด้ายโรงงาน (ในสมัยหลัง) อาจใส่ลวดลายบ้างเล็กๆ น้อยๆ ในเนื้อผ้า อีกอย่างหนึ่ง คือผ้าซิ่นสำหรับใช้ในโอกาสพิเศษ มักจะทอด้วยความประณีตเป็นพิเศษ มีการใส่ลวดลาย สีสันงดงาม และใช้เวลาทอนานนับแรมเดือน
                  ขนาดและลักษณะของผ้าซิ่นนั้น ขึ้นกับฝีมือ รสนิยม ขนบการทอในแต่ละท้องถิ่น และยังขึ้นกับขนาดของกี่ทอด้วย การทอผ้าด้วยกี่หน้าแคบ จะได้ผ้าที่แคบ ผ้าซิ่นสำหรับใช้จริงจึงต้องนำมาต่อเป็นผืนให้กว้างขึ้น อย่างไรก็ตาม ผ้าซิ่นในปัจจุบันจะทอด้วยกี่หน้ากว้าง ไม่ต้องต่อผืนอย่างในสมัยโบราณอีกต่อไป

ดอกไม้ประจำชาติของประเทศมาเลเซีย

ดอกไม้ประจำชาติของประเทศมาเลเซีย

                     ดอกไม้ประจำชาติของมาเลเซีย คือ ดอกชบา ดอกชบานอกจาก จะมีความสวยงามแล้วยังมี ข้อมูลดีๆที่เรายังไม่รู้อีกมากมาย

ชบา : พืชที่มาพร้อมฐานะพิเศษ
                    ชบาเป็นพืชยืนต้นประเภทไม้พุ่มเนื้ออ่อนขนาดย่อม สูงประมาณ ๒.๕ เมตร มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hi-bicus rosa-sinensis Linn. อยู่ในวงศ์ Malvaceae เช่นเดียวกับฝ้ายและพุดตาน ชื่อชนิดของชบาบอกถึง ลักษณะดอกว่าคล้ายกุหลาบ (rosa) และเกี่ยวกับเมืองจีน (sinensis)
                    ชบามีใบค่อนข้างมนรี ปลายแหลม ขอบใบเป็นจักเล็กน้อย ใบยาว ประมาณ ๗-๑๐ เซนติเมตร สีเขียวเข้ม เมื่อขยี้ใบจะเป็นเมือกเหนียว
                    ดอกชบามีทั้งกลีบชั้นเดียวและ ซ้อนหลายชั้น หากเป็นดอกชั้นเดียวปกติมีกลีบดอก ๕ กลีบ มีก้านเกสร ขนาดใหญ่ตรงกลางดอกหนึ่งก้าน กลีบดอกชบามีขนาดใหญ่ และมีหลาย สี เช่น ขาว เหลือง ชมพู แดง แสด ม่วง ฯลฯ
                    ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของชบาเชื่อกันว่าอยู่ในประเทศจีน อินเดีย และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก เช่น หมู่เกาะฮาวาย  

ประมุขของประเทศมาเลเซีย

ประมุขของประเทศมาเลเซีย



                    สมเด็จพระราชาธิบดี สุลตาน มุซตาซีมุ บิลลาฮ์ อับดุล ฮาลิม มุอัซซัม ชาฮ์ อิบนี อัลมาร์ฮุม สุลตาน บาดิร ชาฮ์ ทรงเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซียลำดับที่ 5 และ 14 และสุลต่านแห่งรัฐเกดะห์ พระองค์ปัจจุบัน

พระราชประวัติ
                    สุลต่านตวนกู อับดุล ฮาลิม พระราชสมภพเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470 ณ พระราชวังแห่งอลอร์สตาร์ เมืองอลอร์สตาร์ รัฐเกดะห์ สุลตาน มุซตาซีมุ บิลลาฮ์ อับดุล ฮาลิม มุอัซซัม ชาฮ์ อิบนี อัลมาร์ฮุม สุลตาน บาดิร ชาฮ์ และทรงได้รับราชาภิเษกในฐานะสุลต่างแห่งเกดะห์ต่อจากพระราชบิดา สุลตาน บาดิร ชาฮ์ เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2501 พระองค์นับเป็นกษัตริย์ที่ครองราชสมบัติยาวนานที่สุดของโลกในปัจจุบัน ลำดับที่ 3 ในฐานะสุลต่านแห่งเกดะห์

การดำรงพระราชอิสริยยศ ยังดี เปอร์ตวน อากง
                    กรกฎาคม พ.ศ. 2513 เมื่อมีการแต่งตั้ง ยังดี เปอร์ตวน อากง ประมุขแห่งประเทศมาเลเซีย พระองค์ใหม่ ในฐานะที่ทรงเป็นสุลต่างแห่งเกดะห์แล้ว ตามลำดับวะระการขึ้นครองราชย์ ทำให้ทรงเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซียพระองค์ที่ 5 ต่อจากสุลตาน นาซีรุดดิน แห่งรัฐตรังกานูและทรงเป็นพระมหากษัตริย์จนครบวาระสมัย 5 ปี
                     ธันวาคม พ.ศ. 2554 ทรงได้รับการบรมราชาภิเษกเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซียพระองค์ที่ 14 อีกครั้ง ต่อจากสุลต่าน มีซาน ไซนัล อาบิดีน แห่งรัฐตรังกานู นับเป็นสุลต่างพระองค์แรก ที่ได้ดำรงพระอิสริยยศนี้ถึงสองครั้ง โดยมีพระราชดำรัสในพิธีบรมราชาภิเษกตอนหนึ่งว่า